วันพุธที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2551

บทที่ 2 เรื่อง การใช้ Context Clues (การเดาความหมายจากบริบท)

Context Clues การเดาความหมายจากบริบท
context = ปริบทหรือบริบท , clue = ตัวชี้แนะ อุปสรรคที่มักพบบ่อยๆ
ในการอ่านภาษาอังกฤษ ก็คือ การไม่รู้ความหมายของคำศัพท์ ทำให้ไม่สามารถเข้าใจข้อความที่อ่าน
ไม่สามารถตีความโจทย์ข้อสอบได้ อ่านไม่เข้าใจ ทำข้อสอบได้ไม่ดี วิธีที่จะช่วยแก้ปัญหานี้ก็คือ ต้องรู้ความหมายศัพท์และสามารถนำไปใช้ได้ แต่การรู้ความหมายศัพท์โดยไม่ต้องเปิดพจนานุกรม (Dictionary) นั้น ทำได้อย่างไร คำตอบก็คือ นักเรียนมีความจำเป็นที่จะต้องเดาความหมายนั้นจากบริบท (Context)
ซึ่งหมายถึง ข้อความ หรือศัพท์หลายๆ คำซึ่งแวดล้อมคำศัพท์ตัวที่เราไม่รู้ความหมาย แล้วทำให้เดาความหมายของศัพท์ที่ไม่รู้ได้ บริบทเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเข้าใจคำศัพท์ เป็นอย่างมาก ทั้งนี้เพราะ ความหมายของคำ คำใดคำหนึ่งนั้นจะต้องขึ้นอยู่กับคำอื่นๆ ซึ่งอยู่ข้างเคียงด้วย เช่น คำว่า "about" We know about that. (about = concerning) แต่ถ้า It is about six o'clock. (about = close to) เป็นต้น
ผู้อ่านสามารถตีความหมายได้โดยอาศัยสิ่งแนะที่อยู่ในปริบท (Context Clues) สิ่งชี้แนะหรือตัวสัญญาณ (Clues / signal words) สามารถช่วยชี้แนะความหมายของคำศัพท์ที่ไม่คุ้นเคยให้กับผู้อ่านได้อย่างถูกต้องตรงตามปริบท สิ่งชี้แนะหรือตัวสัญญาณที่สำคัญได้แก่
1. Definition type (การให้คำนิยาม)
2. Restatement type (การกล่าวซ้ำ)
3. Example type (การยกตัวอย่าง)
4. Comparison or Contrast type (การเปรียบเทียบ หรือ บอกความแตกต่าง)
5. Cause and Effect relationship type (การใช้ความสัมพันธ์ในเรื่องเหตุและผล)
6. Explanation type (การอธิบาย)
7. Modifier type (การใช้ตัวขยาย)
8. Subjective type (การใช้เนื้อเรื่อง)
9. Familiar type (การใช้คำที่คุ้นเคยที่มีความหมายใกล้เคียง)
Definition type
เป็นชนิดของสิ่งแนะที่ชี้แสดงความหมายหรือนิยามคำศัพท์ที่ไม่คุ้นเคย
ซึ่งผู้อ่านสามารถสังเกตการนิยามความหมายของคำศัพท์ได้โดยการดูที่ตัวชี้แนะ หรือคำสัญญาณ
(clues signal words) ที่ปรากฏอยู่ในข้อความนั้นๆ ตัวชี้แนะหรือคำสัญญาณ ได้แก่

verb "to be" be called
mean(s/ed) called
consist of may be seen as
refer to can be defined as
may be described as can be taught of
what this means is
คำชี้แนะหรือคำสัญญาณดังกล่าวมาข้างต้นนี้ มีความหมายในทำนองเดียวกัน นั่นคือ
แปลว่า "คือ , หมายถึง , หมายความว่า, เรียกว่า"
ตัวอย่าง- A premise is a statement of the relationship between a cause and a consequence.
อธิบาย premise เป็นคำศัพท์ที่ไม่คุ้นเคยis เป็นคำชี้แนะ หรือคำสัญญาณa statement of the relationship เป็นคำนิยามหรือความหมายของคำว่า premiseดังนั้น premise ก็คือ ข้อความที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างสาเหตุและผลลัพธ์- People who study the stars are called astronomers.
อธิบาย astronomers เป็นคำศัพท์ที่ไม่คุ้นเคยare called เป็นคำชี้แนะหรือคำสัญญาณpeople who study the stars เป็นคำนิยามหรือความหมายของคำว่า astronomersดังนั้น astronomers ก็คือ
คนที่ศึกษาเรื่องดวงดาว หรือนักดาราศาสตร์ นั่นเอง- A committee may be defined as any group interacting in regard to a common purpose.
อธิบาย committee เป็นคำที่ไม่คุ้นเคยmay be defined as เป็นคำสัญญาณ หรือตัวชี้แนะany group interacting in reagard to common purpose เป็นคำนิยามหรือความหมายของคำว่า committee ดังนั้น committee ก็คือ กลุ่ม หรือคณะบุคคลที่กระทำการใดๆ โดยมีจุดประสงค์ร่วมกัน
Restatement type
เป็นชนิดของตัวิชี้แนะที่ผู้เขียนบอกความหมายของคำศัพท์ที่ไม่คุ้นเคยด้วยการกล่าวซ้ำความหมายของคำศัพท์ที่ไม่คุ้นเคยนั้น โดยใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายขึ้น พูดให้ง่ายขึ้น
การสังเกต restatement หรือการกล่าวซ้ำความหมายของคำศัพท์ที่ไม่คุ้นเคย สามารถดูได้จากตัวชี้แนะหรือคำสัญญาณ (clues / signal words) และเครื่องหมายวรรคตอน (punctuation) ดังนี้
ตัวชี้แนะ หรือคำสัญญาณ ได้แก่or( หรือ ), that is(นั่นคือ), that is to say / i.e. (นั่นคือ), in other word(กล่าวอีกนัยนึงคือ), to put in another way (กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ)
หมายเหตุ --- i.e. เป็นภาษาละติน
มาจาก id est แปลว่า that is to say
เครื่องหมายวรรคตอน
, ............................. เครื่องหมาย comma,.............................., เครื่องหมาย commas- เครื่องหมาย dash- .............................. - เครื่องหมาย dashes(.............................) เครื่องหมายวงเล็บหรือ parentheses
Example type
เป็นชนิดของสิ่งชี้แนะที่ผู้เขียนชี้แนะความหมายของคำศัพท์ไม่คุ้นเคยด้วยการให้หรือ
ยกตัวอย่างขึ้นมาประกอบความหมาย ของคำศัพท์ที่ไม่คุ้นเคยนั้น โดยปกติก่อนจะยกตัวอย่างขึ้นมาประกอบเพื่อชี้แสดงความหมายของศัพท์ไม่คุ้นเคย ผู้เขียนมักจะให้คำชี้แนะหรือคำสัญญาณ
หรืออาจเป็นเครื่องหมายวรรคตอน ได้แก่
ตัวชี้แนะหรือคำสัญญาณ
for example / e.g.for instancesuch as = ตัวอย่างเช่น, ยกตัวอย่างsuch ............aslike
หมายเหตุ : e.g. เป็นภาษาละติน คือ exampli gratia แปลว่า for example
เครื่องหมายวรรคตอน
, เครื่องหมาย comma: เครื่องหมาย colon- เครื่องหมาย dash
Comparison or Contrast type
เป็นชนิดของสิ่งแนะที่ผู้เขียนชี้แนะความหมายด้วยการเปรียบเทียบ (Comparison) หรือการแย้งความ (Contrast) โดยปกติ ผู้เขียนมักจะให้ตัวชี้แนะหรือคำสัญญาณแสดงการเปรียบเทียบ หรือแสดงการขัดแย้งในทางตรงกันข้ามกันมาภายในข้อความนั้นๆ
ตัวชี้แนะหรือคำสัญญาณที่แสดงการเปรียบเทียบ
as / as.................as เหมือนกับ
like / alike เหมือนกับ
similar to เหมือนกับ ,คล้ายกับ
resemble (v) เหมือนกับ
similarily (adv) ในทำนองเดียวกัน
likewise (adv) ในทำนองเดียวกัน
correspondingly (adv) ในทำนองเดียวกัน
in the same way (adv) ในทำนองเดียวกัน
in like manner (adv) ในทำนองเดียวกัน
comparing เปรียบเทียบกับ
compare with เปรียบเทียบกับ
as if / as though ราวกับว่า
ตัวชี้แนะหรือคำสัญญาณที่แสดงการขัดแย้ง
but / yet แต่however / nevertherless แต่อย่างไรก็ตาม
though / although/ even though แม้ว่า
while / whereas ในขณะที่ (แสดงการแย้งกัน)
on the other hand ในทางตรงกันข้าม
on the contrary ในทางตรงกันข้าม
in contrast ในทางตรงข้าม
conversely ในทางกลับกัน
in spite of / despite แม้ว่า

3 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอขอบคุณครับ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

can be taught of ... น่าจะเป็น can be thought of... นะครับ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

similarily น่าจะเป็น similarly
nevertherless น่าจะเป็น nevertheless นะครับ